วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่2 ระบบสารสนเทศ

ความหมาย
1.ระบบ
        กลุ่มของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน ตามหลักแห่งความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันด้วยระเบียบของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน ตามหลักแห่งความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผลทางวิชาการ เช่น รบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาล ระบบสังคม ระบบการบริหารประเทศ
2.ระบบสารสนเทศ
        เซตหรือการรวมตัวของกระบวนการหลายกระบวนการ สำหรับงานด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลเพื่อปรับรูปแบบของข้อมูลให้เข้าสู่รูปแบบของสารสนเทศ ตลอดจนการกระจายสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์จากการประมวลผลสู่ผู้ใช้
แบบจำลองระบบสารสนเทศ
Hall (2004, p.7) ได้กำหนดแบบจำลองระบบสารสนเทศที่ประกอบด้วยส่วนย่อยของแบบจำลองระบบสารสนเทศ 7 ส่วน ดังนี้
       1.ผู้ใช้สายปลาย
       2.ต้นทุนทางข้อมูล
       3.การรวบรวมข้อมูล
       4.การประมวลผลข้อมูล
       5.การจัดการฐานข้อมูล
       6.การก่อกำเนิดสารสนเทศ
      7.ผลป้อนกลับ
บทบาทของระบบสารสนเทศ
      ในส่วนนี้จะกล่าวถึงหัวข้อย่อย คือ โซ่คุณค่า  ระบบคุณค่า การสนับสนุนงานขององค์การ รวมทั้งการเพื่มมูลค่าให้องค์การ เพื่อแสดงถึง บทบาทของระบบสารสนเทศในส่วนการสนับสนุนงานขององค์การ และการเพิ่มมูลค่าให้องค์กร
ธุรกิจ
การจำแนกประเภทระบบสารสนเทศ เป็น 3 ประเภท ดังนี้
     1.ระบบสารสนเทศตามหน้าที่งาน
     2.ระบบสารสนเทศวิสาหกิจ
     3.ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ
ระบบสารสนเทศบนเว็บ โดยมีรายละเอียดดังนี้
      1. อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลานทั่วโลก 
      2. อินทราเน็ต คือ การใช้เทคโนโลยีเว็บสำหรับการสร้างเครือข่ายส่วนตัว ซึ่งมักถูกจำกัดการใช้งานเฉพาะภายในองค์การ
      3. เว็บศูนย์รวมวิสาหกิจ คือ เว็บไซต์ที่ติดตั้งเกตเวย์ เพื่อใช้ควบคุมการเข้าถึงสารสนเทศของบริษัทจากจุดเพียงจุดเดียว
      4. เอกซ์ทราเน็ต คือ เอกซ์ทราเน็ตถูกเชื่อมต่อกับอินทราเน็ตผ่านทางอินเทอร์เน็ต
      5. ระบบอีคอมเมิร์ซบนเว็บ คือ มักจะมีการเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้อิเล็กทรอนิกส์
      6. ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ คือ ในการเข้าถึงข้อมูลบนเว็บของตลาดอิเล็กทรอนิกส์ได้มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในฐานะตัวแทนขับเคลื่อนด้านการประกอบธุรกิจทางอีคอมเมิร์ซ  
      7. การแลกเปลี่ยนอิเล็กทรอนิกส์ คือ เป็นรูปแบบหนึ่งของตลาดอิเล็กทรอนิกส์
       8. คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และการพาณิชย์เคลื่อนที่ คือ ตัวอย่างระบบคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบสำหรับลูกจ้างเคลื่อนที่และอื่นๆ
สรุป
        ในการศึกษาด้านระบบสารสนเทศ จำเป็นต้องเข้าใจในส่วนประกอบต่างๆ ที่รวมตัวกันอย่างเหมาะสมภายใต้แบบจำลองของระบบสารสนเทศ ดพื่อปฏิบัติหน้าที่ในส่วนการรวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูลและการก่อกำเนิดสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นการตอบสนองต่อองค์กรในส่วนการสนับสนุนการทำงานของกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โซ่คุณค่าและระบคุณค่ารวมทั้งบทบาทของระบบสารสนเทศด้านการสนับสนุนงานรในองค์การ และการเพิ่มมูลค่าให้องค์การ

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่1

1. จงเปรียบเทียบข้อแตกต่าง "ข้อมูล" และ "สารสนเทศ" มาพอเข้าใจ
ตอบ ข้อมูล คือ คำพรรณนาถึงสิ่งของ เหตุการณ์ กิจกรรม และธุรกรรม ซึ่งถูกบันทึก จำแนกและจัดเก็บไว้ภายในแหล่งเก็บข้อมูล แต่ยังไม่มีการจัดโครงสร้างเพื่อถ่ายโอนไปยังสถานที่เฉพาะเจาะจงโดยข้อมูลอาจอยู่ในรูแบบ ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียงก็ได้ และข้อมูลอาจถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบภายในฐานข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการค้นคืนข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างของข้อมูลคือ ผลการเรียนของนักเรียนในชั้นเรียน
          สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ถูกจัดโดยสร้างให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและมีมูลค่าต่อผู้รับ โดยมีการนำเสนอข้อมูลผ่านกระบวนการการประมวลผล และจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน อีกทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการตัดสินใจ เช่น ผลการเรียนเฉลี่ย (GPA) ของนักเรียน

2. การจัดแบ่งหน้าที่ทางธุรกิจมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างองค์การอย่างไร
ตอบ หน้าที่งานทางธุรกิจ หรือ ฟังก์ชันทางธุรกิจ มักถูกใช้เพื่อแบ่งองค์การเข้าสู่เขตพื้นที่รับผิดชอบภายใต้ภาระงาน การกำหนดเขตพื้นที่ของแต่ละหน้าที่งาน มักจะกำหนดตามการไหลของทรัพยากรจากหน้าที่หนึ่งเข้าสู่อีกหน้าที่หนึ่ง การจัดแบ่งหน้าที่งานทางธุรกิจจะแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ ขนาดของธุรกิจ และสายผลิตภัณฑ์ การดำเนินการทางธุรกิจส่วนใหญ่ จะดำเนินตามโครงสร้างองค์กรของธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การ โดยมีการปฏิบัติตามกิจกรรมการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน ที่มีส่วนให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

3. การลงทุนเพื่อจัดตั้งธุรกิจใหม่ จะต้องดำเนินตามขั้นตอนอย่างไร
ตอบ ในจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานทางธุรกิจ เจ้าของกิจการทั้งรูปแบบเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนและบริษัท จะต้องนำเงินมาลงทุนร่วมกันเพื่อจัดตั้งหน่วยธุรกิจขึ้นตามจุดประสงค์และรูปแบบการลงทุนของธุรกิจ
          ในส่วนกิจกรรมการดำเนินงาน คือ การดำเนินการด้านต่างๆ ที่จำเป็นของธุรกิจ เพื่อการอยู่รอดขององค์การ โดยหมายรวมถึงสิ่งต่ไปนี้
กิจกรรมที่1 การจัดหาวัตถุดิบ สินค้า หรือทรัพยากรอื่นๆ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
กิจกรรมที่2 การใช้ทรัพยากร เพื่อผลิตสินค้าหรือบริการนั้นๆ
กิจกรรมที่3 การขายตลอดจนการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการต่อลูกค้า
          สรุปได้ว่า ธุรกิจมีการจัดตั้งธุรกิจและนำเงินมาลงทุน หรืออาจกู้ยืมเงินมาใช้สำหรับการจัดหาทรัพยากรทางธุรกิจ

4.จงเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ข้อมูลของระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร
ตอบ ระดับปฏิบัติการ การใช้ข้อมูลของธุรกิจภายใต้ระดับปฏิบัติการ เปรียบเสมือนกระจกเงาที่คอยสอดส่องดูแลงานด้านต่างๆ เช่น การประมวลผล การบันทึก และการรายงานเหตุการณ์ทางธุรกิจโดยการใช้สารสนเทศช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า การบบันทึกและการปรับปรุงยอดขายสินค้า และสรุปรายงานการขายประจำวัน
         ระดับบริหาร กระบวนการสารสนเทศ จะเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการจัดการ ตลอดจนการตัดสินใจทางธุรกิจ โดยสามารถจำแนกวิธีการที่ถูกจัดการหรือผู้บริหารนิยมใช้ประโยชน์จากสารสนเทศทางธุรกิจ ดังนี้
         วิธีที่1 ใช้ติดตามการปฏิบัติงานในปัจจุบัน
         วิธีที่2 ใช้สร้างความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท

5. ผู้บริหารของบริษัทได้รับทราบงบการเงิน ในช่วงเวลาที่ต้องการตัดสินใจ แต่ข้อมูลใยงบการเงินนั้นมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย จะมีผลต่อมูลค่าของสารสนเทศที่ผู้บริหารได้รับอย่างไร
ตอบ จะมีผลให้ทำให้เกิดมูลค่าของสารสนเทศที่วัดได้ในระดับต่ำ

6. กรณีที่ผู้บริหารในระดับควบคุมปฏิบัติการ ได้รับสารสนเทศที่มีรายละเอียดไม่พอต่อการตัดสินใจ อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไร
ตอบ 1. เกิดความล่าช้าต่อการควบคุมปฏิบัติการ
         2. อาจเกิดการผิดพลาดในการตัดสินใจ
         3. อาจเกิดความผิดพลาดต่อการปกิบัติงาน
         4. ทำให้ผู้บริหารระดับควบคุมปฏิบัติการเกิดความเสี่ยงในการตัดสินใจส่งผลให้เกิดความผิดพลาดต่อมา

7. การสั่งการของผู้บริหารระดับสูง ในเรื่องนโยบายเงินปันผลต่อผู้บริหารระดับกลางให้ควบคุมการจ่ายเงินปันผลแก่พนักงานทุกคน ถือเป็นสายงานด้านสารสนเทศในลักษณะใด
ตอบ สายงานด้านสารสนเทศในแนวดิ่ง

8. จงยกตัวอย่างโครงสร้างกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทบริการโทรศัทพ์มือถือ
ตอบ 1. กระบวนการปฏิบัติการ
        2. กระบวนการจัดการ
        3. กระบวนการสารสนเทศ

9. องค์การดิจิทัลมีความแตกต่างกับองค์การธุรกิจทั่วไปอย่างไร
ตอบ องค์การดิจิทัลจะเป็นการทำงานที่หลากหลายมิติ โดยอาศัยความสามารถของดิจิทัลและสื่อดิจิทัศน์ ซึ่งจะแตกต่างจากองค์การธุรกิจทั่วไป จะอาศัยเพียงแค่คนเข้ามาทำงานและทำงานได้ช้ากว่าองค์การดิจิทัล ความถูกต้องแม่นยำน้อยกว่า

10. องค์การควรดำเนินการอย่างไรเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันทางธุรกิจ
ตอบ ต้องมีการกำหนดวิธีการโต้ตอบ 7 วิธี คือ
         1. การจัดการเชิงกลยุทธ์
         2. จุดศูนย์รวมลูกค้า
         3. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
         4. การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ
         5. นวัตกรรมการผลิตตามคำสั่ง และการผลิตแบบสั่งทำในปริมาณมาก
         6. ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และอิคอมเมิร์ว
         7. พันธมิตรทางธุรกิจ

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่1 บทนำ

  สำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันนั้น ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้สารสนเทศเพื่อการปฏิบัติการ การจัดการ และการตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องจัดหาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้เป็นเครื่องมือเฉพาะด้านของการทำหน้าที่ในธุรกิจ โดยมุ้งเน้นด้านการปฏิบัติหน้าที่ของระบบสารสนเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนทางธุรกิจ
ความรู้ด้านธุรกิจ แบ่งเป็น 5 หัวข้อย่อย ได้แก่
1.       ธุรกิจ  คือ องค์การหนึ่ง ซึ่งเสนอขายสินค้าหรืบริการต่อลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรทางธุรกิจ หรือการทำรายได้ให้กับองค์การ
จำแนกรูปแบบขององค์กรธุรกิจ ดังนี้ ดังนี้
-          รูปแบบที่1 เจ้าของคนเดียว
-          รูปแบบที่2 ห้างหุ้นส่วน
·         ห้างหุ้นส่วนสามัญ
·         ห้างหุ้นส่วนจำกัดประเภท
-          รูปแบบที่3 บริษัทจำกัด
-          รูปแบบที่4 รัฐวิสาหกิจ
2.       ประเภทของธุรกิจ
-          ประเภทที่1 หน่วยบริการ (Service Firm)
-          ประเภทที่2 หน่วยสินค้า (Merchandising Firm)
-          ประเภทที่3 หน่วยผลิตสินค้า (Manufacturing Firm)
3.       การจัดตั้งและการดำเนินงานทางธุรกิจ
-          กิจกรรมที่1 การจัดหาวัตถุดิบ สินค้า หรือทรัพยากรอื่นๆ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ โดยมีวัตถุเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
-          กิจกรรมที่2 การใช้ทรัพยากร เพื่อผลิตสินค้าหรือบริการนั้นๆ
-          กิจกรรมที่3 การขาย ตลอดจนการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการต่อลูกค้า
4.       หน้าที่งานทางธุรกิจ
หน้าที่งานทางธุรกิจ (Business Function) หรือฟังก์ชันทางธุรกิจ มักถูกใช้เพื่อแบ่งองค์กรการเข้าสู่เขตพื้นที่รับผิดชอบภายใต้ภายภาระงาน การกำหนดเขตพื้นที่ของแต่ละหน้าที่งาน มักจะกำหนดตามการไหลของทรัพยากรจากหน้าที่หนึ่งเข้าสู่อีกหน้าที่หนึ่ง
5.       การจัดโครงสร้างองค์การ
การดำเนินการทางธุรกิจส่วนใหญ่ จะดำเนินตามโครงสร้างองค์การธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การ โดยมีการปฏิบัติตามกิจกรรมการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน
 ความรู้ด้านสารสนเทศ จำแนกได้เป็น 4 หัวย่อย ดังนี้
1.       ข้อมูล สารสนทศ และความรู้
ในส่วนนี้กล่าวถึงใน 3 หัวข้อ คือ
1.1   ข้อมูล
1.2   สารสนเทศ
1.3   ความรู้
2.       คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
สำหรับสารสนเทศที่ดี มีประโยชน์ และอยู่ในรูปแบบที่บ่งบอกความหมายสำหรับการตัดสิ้นใจนั้นจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะ 6 ประการ ดังนี้
2.1 ความตรงกับกรณี
2.2 ความทันต่อเวลา
2.3 ความถูกต้อง
2.4 ความครบถ้วนสมบูรณ์
2.5 การสรุปสาระสำคัญ
2.6 การตรวจสอบได้
3.       ข้อมูลของสารสนเทศ
สารสนเทศจัดเป็นทรัพยากรที่สำคัญของธุรกิจ เช่นเดียวกับทรัพยากรประเภทอื่น อาทิเช่น วัตถุดิบ เงินทุน และแรงงาน ดังนั้น สารสนเทศมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของธุรกิจและก่อให้เกิดมูลค่าของสารสนเทศ
4.       ข้อจำกัดของการใช้สารสนเทศ
กาบริหารงานในองค์การ จำเป็นต้องตั้งเป้าหมายของการดำเนินงานที่มีความสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การไว้ด้วย
เทคโนโลยีสารสนเทศ
                การที่องค์การจะได้รับสารสนเทศที่มีประสิทธิ์ภาพนั้น จำเป็นต้องประยุกต์ในเทคโนโลยีสารสนเทศ ในทุกๆขั้นตอนของการประมวลผลธุรกรรมและสารสนเทศ เริ่มตั้งแต่การรับข้อมูลเข้า การประมวลผลข้อมูล การส่งสารสนเทศออกสู่ผู้ใช้และการจัดการสารสนเทศ
การใช้สารสนเทศในองค์กรธุรกิจ
     1.       กระบวนการทางธุรกิจ
การดำเนินงานทางธุรกิจภายใต้หน้าที่การงานต่างๆ ของธุรกิจนั้น จำเป็นต้องมีการดำเนินงานตามกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งถือเป็นระบบการทำงานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้หน่วยธุรกิจมีการปฏิบัติงานตามรูปแบบมาตรฐานอีกทั้งประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
1.1   กระบวนการปฏิบัติการ
1.2   กระบวนการจัดการ
1.3   กระบวนการสารสนเทศ
2.       แนวทางการใช้สารสนเทศทางธุรกิจ
มีส่วนสัมพันธ์กับการดำเนินงานภายใต้กระบวนการทางธุรกิจ โดยจำแนกระดับของการใช้ข้อมูลและสารสนเทศได้ 2 ระดับ คือ
2.1   ระดับปฏิบัติการ
2.2   ระดับบริหาร
3.       สายงานด้านสารสนเทศ
โดยสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
3.1   สายงานด้านสารสนเทศในแนวดิ่ง
3.2   สายงานด้านสารสนเทศในแนวนอน
สารสนเทศทางธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์
                โลกาภิวัตน์ (Globalization) หมายถึง การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดสามารถรับรู้ สัมพันธ์หรือรับผลกระทบจากสิ่งใดที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง ซึ่งสืบเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น โดยมีการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศบนเว็บด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออิคอมเมิร์ซ เพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการซื้อ การขาย ตลอดจนการบริการลูกค้า โดยการทำธุรกรรมในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และอื่นๆ ดังนี้
1.       ระบบเศรษฐกิจ
2.       การจัดการองค์การ
3.       แบบจำลองธุรกิจ
4.       เครือข่ายคอมพิวเตอร์
5.       โอกาสของผู้ประกอบการ
สรุป
ในการดำเนินธุรกิจภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ ธุรกิจส่วนใหญ่มักปรับโครงสร้างด้วยการใช้รูปแบบขององค์การดิจิทัล โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจ ภายใต้กระบวนการทางธุรกิจหลักเพื่อความอยู่รอดและสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันทางธุรกิจ

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1. GIGO มาจากคำศัพท์เต็มว่าอะไร โดยนิยามดังกล่าวต้องการมุ่งเน้นถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
ตอบ GIGO ย่อมาจาก garbage in , garbage out พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแปลว่า เข้าผิด ออกผิด แต่ถ้าแปลตามตัวจะได้ว่า ขยะเข้า ขยะออก เป็นคำกล่าวที่ใช้เตือนสติผู้ใช้คอมพิวเตอร์ว่า ถ้าใส่ข้อมูลที่ไร้คุณค่าลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องก็มิอาจจะทำให้ข้อมูลนั้นมีค่าขึ้นมาได้เลย อีกนัยหนึ่ง เป็นการบอกให้นักคอมพิวเตอร์มือใหม่รู้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หาใช่สิ่งมหัศจรรย์ที่จะเนรมิตข้อมูลเลว ๆ ให้เป็นสารสนเทศ (information) ดี ๆ ได้ ถ้าใส่ขยะ (ข้อมูลเลว ๆ) เข้าไป ก็จะได้ขยะ (สารสนเทศเลว ๆ ) ออกมา

 2. การที่องค์การหรือภาคธุรกิจ ทำไปในปัจจุบันนิยมนำระบบสารสนเทศมาใช้ในงานกันมากขึ้น และสามารถเป็นเจ้าของระบบสารสนเทศกันมากขึ้น สื่อเนื่องมาจากสาเหตุใด ยกตัวอย่างแล้วตอบ
ตอบ  เนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีส่วนช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานต่างๆ ไปเป็นอย่างสะดวกสบายมากขึ้น จึงไม่แปลกที่องค์การหรือภาคธุรกิจจะให้ความนิยมและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับความต้องการของแต่ละองค์กร ด้วยเหตุนี้เองระบบสารสนเทศจึงเป็นที่แพร่หลายมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกทั้งยังถูกพัฒนาความสามารถให้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง
ตัวอย่าง ในปัจจุบัน GIS ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะเป็น IT ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ช่วยให้สามารถเห็นภาพหรือพื้นที่ต่างๆ ได้ในมุมกว้างอย่างชัดเจน อีกทั้งสะดวกต่อการทำงานและช่วยให้การวิเคราะห์พื้นที่ต่างๆ เป็นไปอย่างง่ายดาย เพราะไม่จำเป็นต้องออกเดินทางไปยังพื้นที่นั้นๆด้วยตนเอง หรือช่วยอำนวยความสะดวกในกรณีที่เราต้องออกเดินทางไปในที่ๆ ยากต่อการเข้าถึง และมีข้อจำกัดด้านเวลา หรือระยะทางในการเดินทาง เป็นต้น ดังนั้น GIS จึงช่วยลดต้นทุนในการเดินทางได้เป็นอย่างดี

3. อยากทรายว่าเหตุผล 3 ประการที่ธุรกิจต่างนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. นำไปใช้ในการประมวลผลรายงาน และการจัดทำรายงานการวิเคราะห์งานต่างๆภายในองค์กร
         2. นำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ
         3. นำไปใช้ช่วยในการติดต่อสื่อสาร

4. ให้ยกตัวอย่างที่บอกถึงกิจการ ที่ปรับปรุงกระบวนการธุรกิจใหม่ ด้วยการนำสิ่งใดมาประยุกต์ใช้
ตอบ  บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน)
 เป็นบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมชั้นนำของประเทศ ซึ่งให้บริการแก่ลูกค้าทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป โดยมีธุรกิจบริการที่สำคัญ ได้แก่ บริการโทรศัพท์พื้นฐานบริการโทรศัพท์สาธารณะ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ บริการสื่อสารข้อมูล รวมทั้ง บริการเสริมพิเศษต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมที่มีความแข็งแกร่งสูงสุดในประเทศ ด้วยเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศครอบคลุมภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก และภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก สามารถให้บริการโทรคมนาคมครบวงจรทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งนี้ภายใต้วิสัยทัศน์ที่กำหนด คือ เป็นบริษัทสื่อสารชั้นนำในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นผู้นำในตลาดประเทศไทย โดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าให้ดีที่สุดปัจจุบัน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้มุ่งเข้าสู่ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและความสำเร็จของธุรกิจในเศรษฐกิจยุคดิจิตอล โดยได้เปิดให้บริการต่างๆ ที่รองรับการเติบโตของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ บริการรับชำระค่าบริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต บริการศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Business Center) การจัดทำระบบการจัดซื้อจัดหาผ่านอินเทอร์เน็ต (e-Procurement) และ การเปิดให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (TOT Certification Authority : TOT CA) ด้วยศักยภาพความพร้อมในทุก ๆ ด้านทั้งเทคโนโลยีทันสมัย ความครอบคลุมทั่วถึงของโครงข่าย ความมั่นคงขององค์กร เสถียรภาพทางด้านการเงิน และที่สำคัญ การสนับสนุนและให้การรับรองจากรัฐบาล ความร่วมมือจากภาคเอกชนและองค์กรต่างประเทศที่เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในระดับสากล บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จึงเป็นผู้ให้บริการที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจและมั่นใจในบริการได้สูงสุด

ลักษณะธุรกิจ : ประเภทบริการ
  ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ : งานในด้านสารสนเทศของบริษัททีโอทีมีการนำสารสนเทศเข้ามาใช้หลายระบบซึ่งแต่ละระบบจะมีความสามารถเฉพาะตัว เช่น
-ระบบอินเตอร์เน็ต จะช่วยในการประชาสัมพันธ์ติดต่อกับลูกค้า
-ระบบเอ็กทราเน็ตจะนำมาใช้กับงานภายในองค์กรเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับบุคคลากร  ภายในองค์กร
-ระบบCRM ช่วยใหนการเก็บฐานข้อมูลลูกค้า
-ระบบSAP นำมาช่วยงานในด้านการเงินและบัญชี
                   
ระบบ SAP            
            นำเข้ามาใช้ในปี 2546 โดยมีบริษัท คูเปอร์ เป็นผู้เข้ามาวางระบบให้ และมีการจัดอบรมการใช้ระบบ ทีละระบบในครั้งแรกระบบ SAP ที่นำมาใช้คือ SAP/2 จากนั้นก็พัฒนามาเป็นระบบ R/3 และมีแนวโน้วว่าจะพัฒนาเป็นระบบ R/4 ในอนาคต และก่อนที่จะมาใช้ระบบ SAP นั้น บริษัทใช้ระบบ Manual ซึ่งมีความล่าช้า บริษัทจึงนำระบบใหม่เข้ามาใช้ ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
           ระบบ SAP ที่นำเข้ามาใช้บุคคลกร จะมี User name และ Pass word ให้สามารถเข้าใช้งานซึ่งระบบนี้ทำให้สามารถดูและงานเป็นระดับชั้นได้ คือ บุคคลากรแต่ละระดับจะสามารถเข้าระบบได้เฉพาะส่วนงานของตน ระดับภูมิภาคจะสามารถเข้าระบบได้ทั้งภูมิภาค เช่น ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคตะวันออก จะสามารถเข้าดูได้ทุกจังหวัดในเขตภูมิภาคของตนและบริษัทแม่ของทีโอที ก็จะสามารถดูได้ทุกภูมิภาค ทุกจังหวัดทั่วประเทศซึ่งเป็นการตรวจสอบการทำงาน กูงบประมาณที่แต่บริษัทใช้ พัสดุคงเหลือ เป็นต้น
  ที่มา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/134035

                      






วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กรณีศึกษา: งานกลุ่ม

งานกลุ่ม  4 คน
กรณีศึกษาจริง: ระบบอินทราเน็ตที่ว่า “ระบบสารสนเทศของทุก ๆ คน
คำถามจากกรณีศึกษา
1.ทำไมการทำงานร่วมกันในระบบอินทราเน็ตจึงกลายเป็น “ระบบสารสนเทศของทุก ๆ คน”
ตอบ   การทำร่วมกันในระบบอินทราเน็ตเป็นสิ่งที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ที่ทำให้กล่าวได้ว่า “ระบบสารสนเทศของทุกๆคน” (Everyone’s Information) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญสำหรับบริษัทหลาย ๆ แห่ง

2.อะไรเป็นแนวคิดระบบสารสนเทศที่คุณได้จากระบบอินทราเน็ตของบริษัทและเครื่องมือค้นหาของ Fulcrum
ตอบ  บริษัทใช้การสนทนาระบบออนไลน์ภายในเครือข่ายพื้นที่ปฏิบัติการ โดยวิศวกรที่มีความชำนาญจากทุกมุมโลก เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ของพวกเขาในการปรับปรุงของบริษัทและโครงการทางวิศวกรต่างๆ ซึ่งในการสนทนาผ่านทางระบบ PAN จะตั้งหัวเรื่องในการสนทนา  โดยใช้ซอฟต์แวร์ Fulcrum และจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล Oracle หลังจากที่ได้มีการสนทนาและโต้เถียงกันเป็นเวลานานระหว่างวิศวกรและผู้บริหารในบริษัทโดยผ่าน Fulcrum ที่ใช้เป็นเครื่องมือค้นหาและเครื่องมือภายในกลุ่ม

3. อะไรเป็นผลประโยชน์ในทางธุรกิจสำหรับระบบอินทราเน็ตและเครื่องมือค้นหาภายในบริษัท
ตอบ
สะพานแขวน 10 ช่องทางที่ออกแบบโดยบริษัท ซึ่งสะพานดังกล่าวไม่เพียงจะสวยงาม แต่ยังช่วบลดปัญหาการจราจรบนท้องถนนภายในเมือง Boston ได้อีกด้วย ซึ่งสะพานนี้จะเป็นสะพานแขวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก



          สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวกฤษฎาวดี   เข้าเมือง
2.นางสาววราพร         สมสวย
3.นางสาวอัฉรา           ชนะ
4.นางสาวดวงดาว       จำปาทอง