วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 10


1. จงอธิบายแนวคิดของระบบวิสาหกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศต่าง ๆ ขององค์การ
 ตอบ ด้านหน้าที่งานแนวไขว้ คือ หน้าที่งานหน้าที่หนึ่ง อาจอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของสองหน่วยงาน เช่น หน้าที่งานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ อาจอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของฝ่ายวิจัยและพัฒนาและฝ่ายการผลิต

2. ในส่วนมิติด้านความสามารถในการประกอบธุรกิจ มีความเกี่ยวข้องกับการบูรณาการทางธุรกิจอย่างไร
 ตอบ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับกระบวนการทางธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง

3. ผู้จัดหาวัสดุเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานผลิตสินค้าจัดอยู่ในโครงสร้างใดของโซ่อุปทาน
 ตอบ โครงสร้างและระดับชั้นของผู้จัดหา

4. การขายหนังสือบนเว็บที่มีจัดส่งเนื้อหาในรูปแบบดิจิทัล ประกอบด้วยสายงานใดบ้างภายใต้โซ่อุปทาน
 ตอบ  สายงานด้านสารสนเทศและสายงานด้านการเงิน

5. บุลวิป เอฟเฟก คือปัญหาเรื่องใดภายใต้โซ่อุปทาน จงอธิบาย
ตอบ ด้านระยะเวลาการนส่งสินค้าและความไม่แน่นอนจากกการตั้งค่าระดับสินค้าคงเหลือของชิ้นส่วน

6. อาร์เอฟดีไอ คือ เทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการจัดโซ่อุปทานอย่างไร
ตอบ สนับสนุนในส่วนของผู้ค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายและผู้ผลิต โดยองค์การจะให้ผู้จัดหารายใหญ่แนบป้ายระบุความถี่วิทยุติดกับแท่นวางสินค้าหรือกล่องสินค้าในระหว่างที่ขนส่งสินค้ามายังองค์การ

7. จงยกตัวอย่างสื่อที่ใช้ภายใต้ระบบประยุกต์ด้านสัมผัสลูกค้า
 ตอบ การใช้อีคอมเมิร์ชช่วยในธุรกิจ

8. จงยกตัวอย่างบริการขั้นพื้นฐานของอี-ซีอาร์เอ็ม
ตอบ เริ่มตั้งแต่การใช้โปรแกรมค้นดูเว็บอินเทอร์เน็ตหรือจุดสัมผัสอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล

9. ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การอย่างไร
 ตอบ  เพราะระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การ เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนทางด้านต่าง ๆ ดังนั้น ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้ จึงต้องการการวางแผนที่เป็นระบบเช่นกัน

10. การแพร่กระจายคามรู้ทั่วทั้งองค์การ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใดบ้าง
 ตอบ  ใช้ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 10 ระบบสารสนเทศยุคโลกาภิวัฒน์


แนวคิดและวิวัฒนาการ
1.ความหมาย
                คือ ระบบที่มีการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศต่างๆเข้าด้วยกัน โดยอาจจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีด้านเครือข่ายและสื่อสารข้อมูลเข้าร่วมด้วย เพื่อให้เกิดการแพร่กระจายสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ
2. วิวัฒนาการ
                เริ่มแรกธุรกิจไดนำระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้เพื่อการจัดการงานตามสายงานของโซ่อุปทานเพื่อทดแทนการทำงานภายใต้ระบบมือที่ล่าช้าและมักเกิดข้อผิดพลาดบ่อย ต่อมาธุรกิจเริ่มตระหนักถึงปฏิสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ภายใต้โซ่อุปทาน เช่น มีการตระหนักถึงงานด้านการจัดตารางการผลิต จึงมีการพัฒนาแบบจำลองด้านการวางแผนความต้องการซื้อวัสดุ 
3. การบูรณาการด้านซอฟต์แวร์
                3.1 การบูรณาการภายในองค์การ คือ การรวมตัวของระบบประยุกต์ต่าง ๆ และฐานข้อมูลภายในบริษัท เช่น การสั่งซื้อ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การใช้ระบบเบ็ดเสร็จ มีผลให้เกิดความซับซ้อนมากขึ้น
                3.2 การบูรณาการภายนอกองค์การ คือ การรวมตัวกันของระบบประยุกต์และฐานข้อมูลระหว่างองค์การและหุ้นส่วนธุรกิจ เช่น การแสดงบัญชีรายการสินค้าของผู้ขาย การติดตั้งระบบจัดหาอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ซื้อ เป็นต้น
ระบบวิสาหกิจ
                คือ ระบบสารสนเทศที่เป็นตัวแทนของระบบสารสนเทศยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่ง Turban et al ได้ให้คำจำกัดความ ระบบวิสาหกิจ หมายถึง ระบบหรือกระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องกับขอบเขตงานทั่วทั้งองค์การหรืองานในหน้าที่หลักขององค์การ และมักถูกจำกัดขอบเขตในแต่ละแผนก
                Laudon and Laudon ระบุถึงผลประโยชน์ที่องค์การจะได้รับจากการใช้ระบบวิสาหกิจที่มุ่งเน้นการบูรณาการกระบวนการทางธุรกิจต่าง ๆ ให้อยู่ภายใต้การทำงานของระบบเดียว โดยผลประโยชน์เหล่านี้จะอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงมิติต่างๆ ทางธุรกิจ ดังนี้
                มิติที่ 1 โครงสร้างองค์การ
                มิติที่ 2 กระบวนการจัดการที่มุ่งเน้นการจัดการฐานความรู้ทั่วทั้งองค์การ
                มิติที่ 3 แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่มีการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว
                มิติที่ 4 ความสามารถในการประกอบธุรกิจ
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการโซ่อุปทาน
1. สายงานด้านโซ่อุปทาน
1.1 สายงานด้านวัสดุ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ทางกายภาพทั้งหมด รวมถึงวัสดุและชิ้นส่วนการผลิตต่างๆ ซึ่งมักจะมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
1.2 สายงานด้านสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความต้องการวัสดุ การลำเลียงวัสดุ การรับคำสั่งซื้อ การส่งคืนวัสดุ ตารางการจัดหาวัสดุ รวมทั้งข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงแหล่งจัดเก็บข้อมูล
1.3 สายงานด้านการเงิน หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงิน การจ่ายเงิน สารสนเทศด้านบัตรเครดิตและการอนุมัติ ตารางการจ่ายเงิน ละการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์
2. โครงสร้างและระดับชั้นของผู้จัดหา
                2.1 โครงสร้างของโซ่อุปทาน
                2.2 ระดับชั้นของผู้จัดหา
3. การออกแบบโซ่อุปทาน
                โดยมีการจำแนกรูปแบบของโซ่อุปทานออกเป็น 4 ประเภท คือ การผลิตเป็นสินค้าคลังแบบบูรณาการ การเติมเต็มสินค้าอย่างต่อเนื่อง การผลิตตามคำสั่ง และช่องทางการประกอบชิ้นส่วน สำหรับการออกแบบที่ดีจะต้องบรรลุเป้าหมายด้านลดความไม่แน่นอนและความเสี่ยงตามสายงานของโซ่อุปทาน
4. ปัญหาด้านโซ่อุปทาน
                อาจมีสาเหตุจากภายในองค์การนั่นเอง อันเนื่องจากความยาวและความซับซ้อนของโซ่อุปทาน หรืออาจมีสาเหตุมาจากภายนอกองค์การ รวมทั้งกรณีที่มีพันธมิตรเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น บริษัทไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ สินค้าคงคลังมีปริมาณมาก และมีต้นทุนสูงเกินไป ในส่วนของสาเหตุปัญหาที่มักเกิดขึ้นในสายงานโซ่อุปทาน
5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                5.1 การแบ่งปันด้านสารสนเทศ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาด้านโซ่อุปทานและความสามารถปรับปรุงการพยากรณ์ยอดขายได้เป็นอย่างดี
5.2 การใช้เทคโนโลยีด้านการกำหนดความถี่วิทยุ หรืออาร์เอฟไอดี 
             5.3 การเปลี่ยนโซ่อุปทานส้นตรงเป็นฮับ ซึ่งมีผลให้กระแสสารสนเทศไหลช้าลง
             5.4 ความร่วมมือด้านโซ่อุปทาน มักต้องการการประสานงานภายใต้กิจกรรมต่างๆ         
             5.5 โรงงานเสมือน ซึ่งม่งเน้นถึงการจัดหาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของโรงงาน
6. ประโยชน์ที่ได้รับ
                1. ธุรกิจสามารถดำเนินกิจกรรมภายใต้โซ่อุปทานได้อย่างรวดเร็ว
                2. ธุรกิจสามารถลดระดับสินค้าคงคลัง และนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต
                3. ธุรกิจสามารถส่งมอบสินค้าเข้าสู้ตลาด หรือถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
                4. ธุรกิจสามารถสร้างความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์กับผู้จัดหาและหุ้นส่วนธุรกิจ
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
1. แนวคิดและความหมาย
                Turban et al.  ได้ให้นิยามไว้ว่า
                การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ หรือซีอาร์เอ็ม หมายถึง ความพยายามทั่วทั้งองค์การที่จะได้ลูกค้ามา อีกทั้งธำรงรักษาลูกค้านั้นไว้ โดยตระหนักว่าลูกค้า คือ แกนหลักของธุรกิจ โดยการมุ่งเน้นสร้างความสัมพันธ์ และการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว ทั้งในส่วนของการเพิ่มมูลค่าให้ลูกค้าและบริษัท
                
ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การ
                O’brien ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การ หรือ อีอาร์พี คือ เทคโนโลยีหนึ่ง ซึ่งถือเป็นกระดูกสันหลังของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการประมวลผลธุรกรรมบริเวณกว้างของวิสาหกิจที่เชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจค่าง ๆ เข้าด้วยกัน
1. การบูรณาการระบวนการทางธุรกิจหลัก
                Laudon and Laudon ได้กล่าวไว้ว่า ระบบอีอาร์พี คือ ระบบวิสาหกิจหนึ่ง ซึ่งมีจุดมุ่งเน้นในส่วนของการบูรณาการ กระบวนการทางธุรกิจหลักขององค์การ โดยตี่งอยู่บนพื้นฐานของการเชื่อมโยงของมอดูลต่าง ๆ ของซอฟต์แวร์กับฐานข้อมูลรวมขององค์การ เริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบประยุกต์ การริเริ่มใช้งานระบบอีอาร์พี จึงเปรียบเสมือนตัวเร่งให้ธุรกิจทำการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจขององค์การให้ดีขึ้น
2. วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
                โดยซอฟต์แวร์จะนำเสนอทางเลือกที่เป็นแบบฉบับของธุรกิจประสบผลสำเร็จ หรือทางเลือกด้านวิธการแก้ปัญหาสำหรับการบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ และมีการจัดทำแผนที่กระบวนการ เพื่อแสดงถึงขั้นตอนที่ต้องกระทำ
3. วิวัฒนาการด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์
                ซอฟต์แวร์ด้านอีอาร์พี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซอฟต์แวร์เบ็ดเสร็จ ซึ่งมีการรวมตัวด้านการวางแผน การจัดการและการใช้ทรัพยากรทั่วทั้งองค์การ และประกอบด้วยชุดคำสั่งของระบบประยุกต์ ที่ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานประจำส่วนหลังอัตโนมัติ จำแนกได้ 3 รุ่น
                3.1 ซอฟต์แวร์อีอาร์พีรุ่นที่หนึ่ง มุ่งเน้นกิจกรรมภายในองค์การ ซึ่งมักจะเป็นงานประจำและงานที่ทำซ้ำ ๆ กันในทุกวันทำการ
                3.2 ซอฟต์แวร์อีอาร์พีรุ่นที่สอง มุ่งเน้นถึงการเพิ่มพลังอำนาจที่มีอยู่เดิมของระบบสารสนเทศ อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการธุรกรรมและการตัดสินใจที่ดีขึ้น
                3.3 ซอฟต์แวร์อีอาร์พีรุ่นที่สาม มุ่งเน้นการรวมตัวเข้ากับการบริหารโครงการ ซึ่งเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในส่วนกระบวนการธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง
4. การบูรณาการระบบสารสนเทศ
                4.1 การบูรณาการเข้ากับซอฟต์แวร์ด้านการจัดการโซ่อุปทาน ในการใช้ซอฟต์แวร์ด้านอีอาร์พีและเอสซีเอ็มร่วมกัน อาจพิจารณาได้จากงานด้านการประมวลผลคำสั่งซื้อ โดยซอฟต์แวร์ด้านอีอาร์พีจะมุ่งเน้นถึงวิธีการได้คำสั่งนั้นมาและทำคำสั่งนั้นให้บรรลุผล แต่ซอฟต์แวร์ด้านเอสซีเอ็มจะมุ่งเน้นความเป็นไปได้ของการได้มาซึ่งคำสั่งซื้อ
                4.2 การบูรณาการเข้ากับซอฟต์แวร์ของระบบวิสาหกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ของระบบอีคอมเมิร์ซและซีอาร์เอ็ม ซึ่งได้แพร่กระจายการใช้งานมากภายในองค์การขนาดเล็ก
5. ผลประโยชน์ที่ได้รับ
                5.1 ด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ 
                5.2 ด้านการลดต้นทุน 
                5.3 ด้านการตัดสินใจ 
                5.4 ด้านความรวดเร็วของธุรกิจ
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้
1. ความรู้
                รูปแบบที่ 1 ความรู้โดยชัดเจน มักเกี่ยวข้องกับความรู้ วัตถุประสงค์ เหตุผล และเทคนิค โดยมักอยู่ในลักษณะของนโยบาย คำชี้แนะกระบวนการ รายงาน กลยุทธ์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้รั่วไหล
                รูปแบบที่ 2 ความรู้โดยนัย คือ การจัดเก็บประสบการณ์ความหยั่งรู้ ความมีไหวพริบ ความลับทางการค้า ตลอดจนการเรียนรู้ในองค์การ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความรู้ฝังตัว ซึ่งมักจำกัดอยู่ในสมอง
2. การจัดการความรู้
                เป็นกระบวนการหนึ่ง ซึ่งช่วยองค์การในการระบุ คัดเลือก รวบรวม เผยแพร่ และโอนย้ายสารสนเทศที่มีความสำคัญ ซึ่งความรู้เหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาอันเกิดจากการทำงานที่มักเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
3. ระบบการจัดการความรู้
                3.1 กลุ่มเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร คือ สื่อกลางที่ยินยอมให้ผู้เข้าใช้เข้าถึงความรู้และสื่อสารความรู้นั้นกับบุคคลอื่นโดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผ่านทางอีเมล อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต
                3.2 กลุ่มเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกัน รียกอีกอย่างหนึ่งว่า กุ่มกรุ๊ปแวร์ คือ การปฏิบัติงานของกลุ่มงานหนึ่งที่สมาชิกมีการทำงานร่วมกันภายใต้เอกสารหนึ่งในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากัน
                3.3 กลุ่มเทคโนโลยีด้านการจัดเก็บและค้นคืนข้อมูล ซึ่งอาจอยู่ภายใต้ของการใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลเพื่อการจับ จัดเก็บ และจัดการความรู้ส่วนต่าง ๆ โดยต้องการใช้กลุ่มเครื่องมือที่ต่างไปจากปกติ
4. เทคโนโลยีด้านการจัดการความรู้
                4.1 ปัญญาประดิษฐ์ มักจะฝังตัวอยู่ในเคเอ็มเอส ไม่ว่าการฝังตัวจะกระทำโดยผู้ขายซอฟต์แวร์ หรือผู้พัฒนาระบบก็ตาม วิธีปัญญาประดิษฐ์ จะชี้ให้เห็นถึงความรู้ความชำนาญภายใต้เครื่องมือที่ใช้ดึงความรู้ออกมาอย่างอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติโดยอาศัยส่วนต่อประสานซึ่งผ่านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ
                4.2 โปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะ คือ ระบบซึ่งช่วยเรียนรู้ละช่วยเหลืองานของผู้ใช้ในแต่ละวัน เพื่อคัดเลือกสารสนเทศที่ผู้ใช้มีความต้องการมากกว่า Turban et al. 
                4.3 การค้นหาความรู้ในฐานข้อมูล คือ กระบวนการซึ่งใช้ค้นหา และสกัดสารสนเทศที่มีประโยชน์จากข้อมูลและเอกสาร ซึ่งรวมงานด้านการสกัดความรู้ด้านต่าง ๆ ตลอดจนการเก็บเกี่ยวสารสนเทศ โดยมีการดำเนินการอย่างอัตโนมัติ และส่งออกข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลเหล่านี้อาจถูกฝังลึกอยู่ภายในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ โกดังข้อมูล หรือคลังความรู้
                4.4 ภาษาเอกซ์เอ็มแอล คือ ภาษาที่แสดงมาตรฐานของโครงสร้างข้อมูล เพื่อการประมวลผลข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่ต่างกันไป โดยไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมประมวลผลซึ่งทำขึ้นเป็นกรณีพิเศษ วิธีนี้เหมาะสมกับการใช้ระบบประยุกต์ด้านอิเล็กทรอนิกส์ ประโยชน์ของภาษาเอกซ์เอ็มแอล นอกจากจะเป็นการประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติและลดปริมาณงานที่เป็นกระดาษลงแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนระบบพันธมิตรธุรกิจด้วย
5. ศูนย์รวมความรู้วิสาหกิจ
                คือ ประตูที่เปิดเข้าสู่เคเอ็มเอส โดยมีวิวัฒนาการมาจากระบบสนับสนุนผู้บริหาร ระบบสนับสนุนกลุ่มร่วมงาน โปรแกรมค้นดูเว็บและระบบจัดการฐานข้อมูล นอกจากนี้ ยังใช้เป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศประเภทไม่มีโครงสร้างที่อยู่ภายในองค์การ โดยทีการใช้กลไกการทำงานร่วมกัน ซึ่งมีการบรรจุความรู้ในเครื่องแม่ข่าย
6. การบูรณาการระบบสารสนเทศ
                 6.1 การบูรณาการเข้ากับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบจะช่วยสนับสนุนด้านข้อมูลที่ใช้แก้ปัญหา โดยการนำเสนอความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคำตอบของปัญหา
                6.2 การบูรณาการเข้ากับปัญญาประดิษฐ์ เช่น ความรู้ที่ถูกจัดเก็บอยู่ภายในฐานความรู้ถูกนำมาใช้ตามเงื่อนไขของ ถ้า-ดังนั้น-อื่นๆ โดยจะช่วยผู้ใช้ระบุถึงวิธีการที่จะนำความรู้จากระบบมาใช้
                6.3 การบูรณาการเข้ากับฐานจ้อมูลและระบบสารสนเทศอื่น โดยการปรับข้อมูลและสารสนเทศให้ทันสมัยมากขึ้น ตลอดจนมีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสารสนเทศนั้น
                6.4 การบูรณาการเข้ากับซีอาร์เอ็ม คือ การใช้โปรแกรมแผนกช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า
ระบบสารสนเทศด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ
1. ความหมาย
                Turban et al.  ได้ให้นิยามไว้ว่า อัจฉริยะทางธุรกิจ คือ ระบบประยุกต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย การใช้เทคนิคด้านการรวบรวม การจัดเก็บ การวิเคราะห์ รวมทั้งการสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลโดยผู้ใช้สารสนเทศ เพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ให้เกิดประสิทธิผลเพิ่มขึ้น โดยมีการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลจากโกดังข้อมูล
2.เครื่องมือและเทคนิค
                Turban et al ได้จำแนกเครื่องมือด้านอัจฉริยะทางธุรกิจเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้
                กลุ่มที่ 1 การค้นพบความรู้ และสารสนเทศ โดยนำความรู้และสารสนเทศที่ได้รับมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มที่ 2
                กลุ่มที่ 2 การสนับสนุนการตัดสินใจและการวิเคราะห์เชิงอัจฉริยะ โดยการใช้ซอฟต์แวร์ด้านระบบอัจฉริยะเป็นเครื่องมือ ทั้ง 2 กลุ่มข้างต้นจะใช้เครื่องมือและเทคนิค
3. การประยุกต์ใช้งาน
              3.1 การใช้บีไอด้านการวิเคราะห์สารสนเทศ โดยนักวิเคราะห์ จะสามารถปฏิบัติการสอบถามข้อมูลหลายระดับชั้น โดยการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลและออกรายงานเจาะลึกรายละเอียด เพื่อค้นหาสาเหตุที่สินค้าบางรายการถูกจัดเก็บในคลังสินค้ามากเกินความจำเป็น หรือค้นหาสินค้าขายดี โดยใช้ข้อมูลขายของงวดก่อนหน้านี้ Turban et al. 
              3.2 การใช้บีไอเพื่อการพยากรณ์ยอดขาย พิซซ่าฮัท ใช้บีไอ เพื่อนำเสนอความต้องการของลูกค้าในรูปแบบของพิซซ่า กาใช้คูปองของลูกค้า ตลอดจนเวลาที่สั่งซื้อ โดยผู้จัดการการตลาดสามารถใช้บีไอ เพื่อช่วยพยากรณ์ความเป็นไปได้ในการสั่งซื้อพิซซ่าครั้งต่อไป และกำหนดกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งชักนำให้ลูกค้าซื้อมากขึ้น Turban et al. 
สรุป
ปัจจุบันองค์การธุรกิจมีการใช้ระบบสารสนเทศหลากหลายระบบ โดยการปฏิบัติงานอยู่ภายใต้กระบวนการทางธุรกิจเฉพาะเรื่อง และยังมีการบูรณาการระบบสารสนเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อการเชื่อมโยงและการแพร่กระจายสารสนเทศทั่วทั้งองค์การ ตลอดจนมีการเชื่อมโยงสารสนเทศกับองค์ภายนอก ซึ่งก็คือ ลูกค้า ผู้จัดหา และหุ้นส่วนธุรกิจ ภายใต้รูปแบบของระบบวิสาหกิจ

แบบฝึกหัดบทที่ 9


1. จงอธิบายแนวทางการใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชี มาพอเข้าใจ
 ตอบ  สารสนเทศทางการบัญชีในส่วนของการบัญชีการเงิน คือ งบการเงินและรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินและกรมสรรพากร และในส่วนการบัญชีบริหาร คือ รายงานการวิเคราะห์ต้นทุนต่าง ๆ รายงานงบประมาณ รายงานการวิเคราะห์งบการเงิน ตลอดจนรายงานการวิเคราะห์การลงทุน นอกจากนี้ยังใช้เป็นหลักฐานทางการเงิน เช่น ใบกำกับภาษี ใบส่งสินค้า และใบจ่ายเงินเดือน

2. จงยกตัวอย่างผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีภายนอกองค์การ มาสัก 2 ตัวอย่าง
ตอบ ลูกค้า และธนาคาร

3. หากท่านดำเนินธุรกิจร้านมินิมาร์ทแห่งหนึ่ง ท่านเลือกที่จะติดตั้งใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีหรือไม่ อย่างไร
 ตอบ ติดตั้ง เพราะเป็นเครื่องมือหนึ่งของการเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจ และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการดำเนินงานและตัดสินใจทางธุรกิจทั้งในส่วนของการวางแผน และการควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจ

4. หากธุรกิจแห่งหนึ่ง มีการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ได้รับการประกันความถูกต้องของข้อมูล ท่านคิดว่าธุรกิจนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างไร
ตอบ 1. ช่วยให้กิจการทราบถึงผลกำไรขาดทุนที่แท้จริงขององค์การ
         2. ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
         3. ช่วยเป็นเครื่องมือสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
         4. ช่วยเป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
         5. ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
         6. ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

5. ท่านคิดว่าเอกสารทางการบัญชีของระบบประมวลผลด้วยมือ และแฟ้มข้อมูลของระบบประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
  ตอบ  มีความสัมพันธ์กันตรงที่เริ่มแรกเกิดการประมวลผลด้วยมือก่อน จากนั้นได้มีการพัฒนาเป็นระบบการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการประมวลผลที่เร็วกว่า

6. เพราะเหตุใด รายงานภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นส่วนหนึ่งของรายงานทางการเงิน
 ตอบ เพราะรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศทางการเงิน พร้อมทั้งนำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มส่งให้กรมสรรพากร

7. จงอธิบายแนวโน้มของระบบสารสนเทศทางการบัญชีในอนาคต
 ตอบ เน้นการโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีร่วมกับโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงข้อมูลภายใต้โซ่คุณค่าและโซ่อุปทานเข้าด้วยกัน

8. หากธุรกิจมีการนำเสนองบการเงิน ซึ่งมีการเสนอข้อมูลด้านการวิเคราะห์อัตราส่วนเพิ่มเติมด้วย จะถือเป็นรายงานทางการเงินหรือรายงานทางการบริหาร
 ตอบ เป็นรายงานทางการบริหาร

9. การเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจ จะได้รับข้อมูลจากระบบงานใดบ้าง
 ­ตอบ อย่างแรกต้องมีการจัดเตรียมผังบัญชี ซึ่งเป็นผังที่แสดงการจัดหมวดหมู่บัญชีภายใต้การดำเนินงาน ลำดับต่อมา คือ การจัดเตรียมแฟ้มสมุดรายงานทั่วไปและแฟ้มงบประมาณ

10. เพราะเหตุใด ธุรกิจจึงจำเป็นต้องใช้โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร ร่วมกับการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
 ตอบ เพื่อแก้ปัญหาระบบเดิม และยังได้รับซึ่งประโยชน์จากการใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ