วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1. GIGO มาจากคำศัพท์เต็มว่าอะไร โดยนิยามดังกล่าวต้องการมุ่งเน้นถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
ตอบ GIGO ย่อมาจาก garbage in , garbage out พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแปลว่า เข้าผิด ออกผิด แต่ถ้าแปลตามตัวจะได้ว่า ขยะเข้า ขยะออก เป็นคำกล่าวที่ใช้เตือนสติผู้ใช้คอมพิวเตอร์ว่า ถ้าใส่ข้อมูลที่ไร้คุณค่าลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องก็มิอาจจะทำให้ข้อมูลนั้นมีค่าขึ้นมาได้เลย อีกนัยหนึ่ง เป็นการบอกให้นักคอมพิวเตอร์มือใหม่รู้ว่า เครื่องคอมพิวเตอร์หาใช่สิ่งมหัศจรรย์ที่จะเนรมิตข้อมูลเลว ๆ ให้เป็นสารสนเทศ (information) ดี ๆ ได้ ถ้าใส่ขยะ (ข้อมูลเลว ๆ) เข้าไป ก็จะได้ขยะ (สารสนเทศเลว ๆ ) ออกมา

 2. การที่องค์การหรือภาคธุรกิจ ทำไปในปัจจุบันนิยมนำระบบสารสนเทศมาใช้ในงานกันมากขึ้น และสามารถเป็นเจ้าของระบบสารสนเทศกันมากขึ้น สื่อเนื่องมาจากสาเหตุใด ยกตัวอย่างแล้วตอบ
ตอบ  เนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีส่วนช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานต่างๆ ไปเป็นอย่างสะดวกสบายมากขึ้น จึงไม่แปลกที่องค์การหรือภาคธุรกิจจะให้ความนิยมและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับความต้องการของแต่ละองค์กร ด้วยเหตุนี้เองระบบสารสนเทศจึงเป็นที่แพร่หลายมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกทั้งยังถูกพัฒนาความสามารถให้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง
ตัวอย่าง ในปัจจุบัน GIS ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะเป็น IT ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ช่วยให้สามารถเห็นภาพหรือพื้นที่ต่างๆ ได้ในมุมกว้างอย่างชัดเจน อีกทั้งสะดวกต่อการทำงานและช่วยให้การวิเคราะห์พื้นที่ต่างๆ เป็นไปอย่างง่ายดาย เพราะไม่จำเป็นต้องออกเดินทางไปยังพื้นที่นั้นๆด้วยตนเอง หรือช่วยอำนวยความสะดวกในกรณีที่เราต้องออกเดินทางไปในที่ๆ ยากต่อการเข้าถึง และมีข้อจำกัดด้านเวลา หรือระยะทางในการเดินทาง เป็นต้น ดังนั้น GIS จึงช่วยลดต้นทุนในการเดินทางได้เป็นอย่างดี

3. อยากทรายว่าเหตุผล 3 ประการที่ธุรกิจต่างนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. นำไปใช้ในการประมวลผลรายงาน และการจัดทำรายงานการวิเคราะห์งานต่างๆภายในองค์กร
         2. นำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ
         3. นำไปใช้ช่วยในการติดต่อสื่อสาร

4. ให้ยกตัวอย่างที่บอกถึงกิจการ ที่ปรับปรุงกระบวนการธุรกิจใหม่ ด้วยการนำสิ่งใดมาประยุกต์ใช้
ตอบ  บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน)
 เป็นบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมชั้นนำของประเทศ ซึ่งให้บริการแก่ลูกค้าทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป โดยมีธุรกิจบริการที่สำคัญ ได้แก่ บริการโทรศัพท์พื้นฐานบริการโทรศัพท์สาธารณะ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ บริการสื่อสารข้อมูล รวมทั้ง บริการเสริมพิเศษต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมที่มีความแข็งแกร่งสูงสุดในประเทศ ด้วยเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างประเทศครอบคลุมภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก และภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก สามารถให้บริการโทรคมนาคมครบวงจรทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งนี้ภายใต้วิสัยทัศน์ที่กำหนด คือ เป็นบริษัทสื่อสารชั้นนำในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นผู้นำในตลาดประเทศไทย โดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าให้ดีที่สุดปัจจุบัน บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้มุ่งเข้าสู่ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและความสำเร็จของธุรกิจในเศรษฐกิจยุคดิจิตอล โดยได้เปิดให้บริการต่างๆ ที่รองรับการเติบโตของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ บริการรับชำระค่าบริการโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต บริการศูนย์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Business Center) การจัดทำระบบการจัดซื้อจัดหาผ่านอินเทอร์เน็ต (e-Procurement) และ การเปิดให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (TOT Certification Authority : TOT CA) ด้วยศักยภาพความพร้อมในทุก ๆ ด้านทั้งเทคโนโลยีทันสมัย ความครอบคลุมทั่วถึงของโครงข่าย ความมั่นคงขององค์กร เสถียรภาพทางด้านการเงิน และที่สำคัญ การสนับสนุนและให้การรับรองจากรัฐบาล ความร่วมมือจากภาคเอกชนและองค์กรต่างประเทศที่เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในระดับสากล บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จึงเป็นผู้ให้บริการที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจและมั่นใจในบริการได้สูงสุด

ลักษณะธุรกิจ : ประเภทบริการ
  ระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ : งานในด้านสารสนเทศของบริษัททีโอทีมีการนำสารสนเทศเข้ามาใช้หลายระบบซึ่งแต่ละระบบจะมีความสามารถเฉพาะตัว เช่น
-ระบบอินเตอร์เน็ต จะช่วยในการประชาสัมพันธ์ติดต่อกับลูกค้า
-ระบบเอ็กทราเน็ตจะนำมาใช้กับงานภายในองค์กรเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับบุคคลากร  ภายในองค์กร
-ระบบCRM ช่วยใหนการเก็บฐานข้อมูลลูกค้า
-ระบบSAP นำมาช่วยงานในด้านการเงินและบัญชี
                   
ระบบ SAP            
            นำเข้ามาใช้ในปี 2546 โดยมีบริษัท คูเปอร์ เป็นผู้เข้ามาวางระบบให้ และมีการจัดอบรมการใช้ระบบ ทีละระบบในครั้งแรกระบบ SAP ที่นำมาใช้คือ SAP/2 จากนั้นก็พัฒนามาเป็นระบบ R/3 และมีแนวโน้วว่าจะพัฒนาเป็นระบบ R/4 ในอนาคต และก่อนที่จะมาใช้ระบบ SAP นั้น บริษัทใช้ระบบ Manual ซึ่งมีความล่าช้า บริษัทจึงนำระบบใหม่เข้ามาใช้ ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
           ระบบ SAP ที่นำเข้ามาใช้บุคคลกร จะมี User name และ Pass word ให้สามารถเข้าใช้งานซึ่งระบบนี้ทำให้สามารถดูและงานเป็นระดับชั้นได้ คือ บุคคลากรแต่ละระดับจะสามารถเข้าระบบได้เฉพาะส่วนงานของตน ระดับภูมิภาคจะสามารถเข้าระบบได้ทั้งภูมิภาค เช่น ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคตะวันออก จะสามารถเข้าดูได้ทุกจังหวัดในเขตภูมิภาคของตนและบริษัทแม่ของทีโอที ก็จะสามารถดูได้ทุกภูมิภาค ทุกจังหวัดทั่วประเทศซึ่งเป็นการตรวจสอบการทำงาน กูงบประมาณที่แต่บริษัทใช้ พัสดุคงเหลือ เป็นต้น
  ที่มา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/134035

                      






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น