วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 7 ระบบสารสนเทศทางการตลาด


แนวคิดและความหมาย
                Laudon and Laudon ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการตลาด หมายถึง ระบบที่ใช้สนับสนุนกิจกรรมของหน้าที่งานด้านการขายและการตลาด เช่น กระระบุถึงความจำเป็นและความต้องการของลูกค้า การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสนองตอบความจำเป็นและความต้องการนั้น อีกทั้งยังมีการนำระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) มาใช้เพื่อการติดต่อประสานงานที่ดีกับลูกค้า สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว
หลักการตลาด
1. แนวคิดและความหมาย
               คอตเลอร์ และอาร์มสตรอง ได้ให้นิยามว่า การตลาด หมายถึง กระบวนการทางสังคมและการจัดการที่มุ่งสนองถึงความจำเป็น และความต้องการให้กับบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ โดยอาศัยการสร้างสรรค์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนคุณค่าและผลิตภัณฑ์ให้กับผู้อื่น
                สรุปได้ว่า ปัจจุบันองค์การธุรกิจมีการใช้ปรัชญาทางการตลาด 2 แนวทาง คือ ปรัชญาด้านการตลาดและปรัชญาด้านการตลาดเพื่อสังคม ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 3 ข้อ ดังนี้
                1. จะต้องมีการตอบสนอง และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
                2. จะต้องมีการบูรณาการและความร่วมมือของทุกฝ่ายในองค์การ
                3. จะต้องมีการมุ่งเน้นไปที่ผลสำเร็จในระยะยาว และการให้ความสำคัญกับการความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อองค์การ
 2. องค์ประกอบทางการตลาด
                2.1 การแลกเปลี่ยนทางการตลาด คือ การโยกย้าย หรือโอนสิ่งที่จับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้
                2.2 กลยุทธ์ทางการตลาด คือ การกำหนดตลาดเป้าหมาย และการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด เพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้าภายใต้ตลาดเป้าหมาย
                2.3 กิจกรรมทางการตลาด  คือ ต้องกระทำเพื่อการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปสู่ลูกค้าคนสุดท้าย
                2.4 ตำแหน่งงานทางการตลาด คือ การกำหนดตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับการตลาด โดยบางตำแหน่งอาจต้องการความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ
                2.5 สถาบันทางการตลาด คือ องค์การที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในกิจกรรมการตลาดเฉพาะทาง โดยองค์การเหล่านี้จะต้องเป็นผู้คอยช่วยเหลือธุรกิจด้านต่าง ๆ
3. การส่งมอบคุณค่าเพื่อลูกค้า
                3.1 การเลือกคุณค่า ในส่วนนี้ต้องทำการวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจถึงความจำเป็นของลูกค้า
                3.2 การจัดหาคุณค่า ในส่วนนี้องค์การต้องอาศัยกระบวนพัฒนาส่วนประสมการตลาดในส่วนของผลิตภัณฑ์ ราคา และช่องทางการจำหน่าย
                3.3 การสื่อสารคุณค่า ในส่วนนี้องค์การ ต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด ในส่วนการสื่อสารการตลาดเข้าช่วย เพื่อสื่อสารถึงข้อดีของผลิตภัณฑ์
 4. บทบาททางการตลาด
                1. ช่วยแก้ปัญหาด้านผลการดำเนินงานขององค์การที่ประสบภาวะขาดทุน โดยดำเนินโปรแกรมการตลาด เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของผลิตภัณฑ์และบริการ และอาศัยการวิจัยการตลาดเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
                2. ช่วยแก้ปัญหาด้านการครอบครองส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น โดยมีแนวโน้มของการควบรวมบริษัทต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทั้งในส่วนธุรกิจประเภทเดียวกัน
                3. ช่วยให้พนักงานที่มีพื้นฐานและประสบการณ์ทางการตลาดประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าในอาชีพในฐานะผู้บริหารระดับสูงของกิจการ
สารสนเทศทางการตลาด
1. แนวคิดและความหมาย
                สารสนเทศทางการตลาด หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการตลาด ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ โดยใช้กิจกรรมสนับสนุนทางการตลาดทั้งในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดจำหน่าย การตั้งราคาผลิตภัณฑ์ การตัดสินใจทางการตลาด การสื่อสารทางกาตลาด และการพยากรณ์ยอดขาย
 2. การจำแนกประเภท
                2.1 สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านการตลาด เพื่อสร้างยอดขายของธุรกิจ
                2.2 สารสนเทศเชิงบริหาร ใช้สนับสนุนงานการบริหารการตลาด และการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด
                2.3 สารสนเทศภายนอกองค์การ ได้มาจากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอก
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
                1. ระบบระเบียนข้อมูลในกิจการ คือ ระบบการบันทึกข้อมูลพื้นฐานในองค์การซึ่งนำมาใช้กับการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
                2. ระบบอัจฉริยะทางการตลาด คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข่าวกรองทางการตลาด ที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่งและสภาพแวดล้อมทางการตลาด เพื่อนำมาตัดสินใจทางกลยุทธ์ และประเมินสถานการณ์ทางการแข่งขัน
                3. ระบบวิจัยการตลาด คือ ระบบที่พัฒนาขึ้น เพื่อใช้สนับสนุนด้านการวิจัยการตลาด โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นทางการในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง
                4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด คอตเลอร์ ได้นิยามไว้ว่า การนำเอาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์มาใช้ในการเก็บข้อมูล วางระบบโดยการประสานกันของเครื่องมือทางสถิติ ตัวแบบและเทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อช่วยให้องค์การสามารถเก็บรวบรวม เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานของการดำเนินการด้นการตลาดต่อไป
เทคโนโลยีทางการตลาด                                                                            
                1. โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการตลาด คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟต์แวร์ ถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการตลาด และจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
                 2. นวัตกรรมด้านร้านค้าปลีก  ปัจจุบันมีการจัดร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเลือกซื้อสินค้า การตรวจสอบและรับชำระค่าสินค้า ซึ่งเป็นการลดกระบวนการซื้อและลดระยะเวลาการรอคอย
                3. หน่วยขายอัตโนมัติ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขายของพนักงานขาย โดยอยู่ในรูปแบบของการใช้มือถือเคลื่อนที่ที่สามารถใช้เข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลของบริษัทได้
                4. การใช้งานอินทราเน็ต โดยใช้ในการควบคุมและติดต่อประสานงานในส่วนกิจกรรมขาย นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบคำสั่งซื้อของลูกค้า ข้อมูลการจัดส่งสินค้าและรับชำระเงินตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายผ่านอินทราเน็ตด้วย
                5. การใช้งานอินเทอร์เน็ต ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าบนเว็บ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ณ ที่บ้าน หรือสำนักงานของลูกค้า โดยไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานขาย
                6. การทำเหมืองข้อมูลทางการตลาด การทำโกดังข้อมูลร่วมกับสารสนเทศทางการตลาด จะช่วยสร้างชุดเครื่องมือปรับการปฏิบัติการดีเลิศ สำหรับงานด้านการขายและการตลาด สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันให้ธุรกิจ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ให้แก่ธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น